2556-02-14

เครดิตภาษีเงินปันผล

เครดิตภาษีเงินปันผล ทางเลือกในการลดภาระภาษีที่ไม่ควรมองข้าม

ใกล้เทศกาลแห่งการยื่นเสียภาษีประจำปี 2555 กันแล้ว เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านคงมีการลงทุนใน LTF, RMF หรือซื้อประกันชีวิต เพื่อนำมาลดหย่อนภาษีกันเป็นปกติ รวมถึงอาจจะมีนักลงทุนบางท่านเน้นลงทุนในบริษัทจดทะเบียนเพื่อหวังเงินปันผลมาเครดิตภาษี เพื่อเป็นการลดภาระภาษีเพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่หลายๆ ท่านอาจมองข้ามไป

การเครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร? คือ สิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากการได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียนนั้น มาจากกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายภาษีนิติบุคคลมาแล้ว (ในอัตรา 0-50%) หลังจากนั้นเมื่อผู้ถือหุ้นได้รับเงินดังกล่าวจะต้องโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีกครั้งในอัตรา 10% ทำให้เป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อน กรมสรรพากรจึงให้สิทธิผู้ได้รับเงินปันผล สามารถนำเงินปันผลมาเครดิตภาษีเงินปันผลได้ กล่าวคือ เป็นการนำรายได้จากเงินปันผลก่อนเสียภาษีนิติบุคคลมารวมคำนวณกับรายได้อื่นๆ เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยหลักการแล้วก็คือ หากฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่ำกว่าภาษีเงิน...ได้นิติบุคคลของบริษัทที่จ่ายเงินปันผล ก็จะสามารถขอคืนภาษีได้

ตัวอย่างเช่น นาย ก. มีรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ เรียบร้อยแล้วอยู่ที่ 300,000 บาท และมีเงินปันผลจากบริษัท A จำนวน 77,000 บาท โดยอัตราภาษีนิติบุคคลของบริษัท A เท่ากับ 23% (สมมติให้ นาย ก. เป็นผู้ถือหุ้นคนเดียวของบริษัท A) หมายความว่า บริษัท A มีรายได้ก่อนเสียภาษี 100,000 บาท และจ่ายภาษีนิติบุคคล 23,000 บาท เหลือปันผลให้นาย ก. 77,000 โดนหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 10% เหลือเงินสดถึงนาย ก. 69,300 บาท (จะเทียบเท่ากับนาย ก. เสียภาษีเงินปันผล 100,000 – 69,300 = 30,700 บาท หรือเท่ากับ 30.7%) โดยนาย ก. มีทางเลือก 2 กรณี ดังนี้

จากทั้ง 2 ทางเลือก นาย ก. ควรเลือกที่จะเครดิตภาษี (กรณีที่ 2)เนื่องจากจะได้ภาษีคืน 5,700 บาท หรืออีกนัยหนึ่งคือเป็นการประหยัดภาษีได้ถึง 20,700 บาท เมื่อเทียบกับการไม่นำเงินปันผลไปเครดิตภาษี (กรณีที่ 1) ซึ่งการเครดิตภาษีสามารถช่วยลดภาระภาษีลงได้กรณีที่ฐานภาษีของผู้เสียภาษีน้อยกว่า อัตราภาษีของบริษัทจดทะเบียนที่จ่ายเงินปันผล จึงเหมาะกับผู้ที่มีฐานภาษีต่ำๆ เช่น ผู้เริ่มต้นทำงานหรือผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณที่ไม่มีรายได้หลักจากการทำงาน

ทั้งนี้ มีข้อพิจารณาในการเครดิตภาษีเงินปันผลคือ 1. อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละ บจ. อาจแตกต่างกันได้ตามประเภทหรือแหล่งรายได้ หาก บจ.ที่จ่ายเงินปันผล จากรายได้ที่ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ได้รับการส่งเสริมการลงทุน หรือได้รับการยกเว้นภาษี (กรณีนี้จะไม่เป็นประโยชน์ต่อการนำไปเครดิตภาษี) และหาก บจ. มีอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การนำเครดิตภาษีเงินปันผลอาจส่งผลให้ต้องชำระภาษีเพิ่มได้ 2. หากตัดสินใจเลือกนำเงินปันผลมาเครดิตภาษี จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณ จะเลือกนำเฉพาะรายการใดรายการหนึ่งไม่ได้

ที่มา TSI

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น